วันศุกร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2561

ผัก ธัญพืช ต้านโรคหัวใจ


โรคหัวใจ เป็นภาวะของโรคที่พบเห็นได้บ่อยมากในปัจจุบัน เพราะลักษณะนิสัย การดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไปจากเดิมของคนเรา คือเน้นการทำงานบนโต๊ะ หรือในออฟฟิศมากขึ้น แต่กลับกินอาหารที่มีพลังงานสูงเข้าไปในแต่ละมื้อแทน โดยเน้นความรวดเร็วแทน หรือที่เรียกกันว่า ฟาสต์ ฟู้ด ดังนั้นคนเราในปัจจุบัน จึงมักจะมีความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจสูงมาก อาการของโรคหัวใจเมื่อเกิดขึ้น จะส่งผลเสียกับร่างกาย เช่น เหนื่อยง่าย เพราะเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ ซึ่งอาจร้ายแรงจนทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว และเสียชีวิตได้ ดังนั้นเราจึงต้องมีการป้องกันโรคหัวใจ ด้วยการรับประทานอาหารดังกลุ่มต่อไปนี้
1. อาหารประเภทปลา เช่นปลาทะเล หรือปลาน้ำจืด ที่มีไขมันพิเศษของปลาสูง เป็นต้นว่า ปลาดุก ปลาทูน่า ปลาช่อน ปลาแซลม่อน ฯลฯ ซึ่งในปลาเหล่านี้ จะมีสารที่เรียกว่า กรดไขมันโอเมก้า 3 (EPA และ DHA) ซึ่งจะช่วยลดระดับคอเรสเตอรอลในเลือดลงได้ นอกจากนั้นยังช่วยปรับระดับความยืดหยุ่นของเส้นเลือด และการไหลเวียนโลหิต ทำให้ลดความเสี่ยงในการสะสมของไขมันในเส้นเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจลงได้
2. น้ำมันพืชบางชนิด เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว จะมีฤทธิ์ในการช่วยลดระดับ คอเรสเตอรอลที่ไม่ส่งผลดีต่อร่างกายหรือ LDL-C ลงได้ และจะเป็นตัวเพิ่มระดับคอเรสเตอรอล ที่ส่งผลดีต่อร่างกาย หรือ HDL-C ให้กับร่างกาย ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยง ของการสะสมของไขมันในเส้นเลือด อันเป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจลงได้
3. ผัก และผลไม้ ชนิดต่างๆ โดยเฉพาะผัก หรือผลไม้ที่มีสีสัน (เช่น เขียว ม่วง แดง) และสามารถกินพร้อมเปลือกได้ เพราะผัก-ผลไม้เหล่านี้ จะมีสารอาหารประเภทแร่ธาตุ และวิตามินต่างๆ ที่ส่งผลดีต่อร่างกายเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นแล้ว ในผักผลไม้ ยังมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ อันเป็นสาเหตุสำคัญของโรคหลายชนิด รวมทั้งโรคหัวใจ ทั้งนี้เพราะสารต้านอนุมูลอิสระ จะไปช่วยยับยั้งการออกซิเดชั่นของคอเรสเตอรอล ที่เป็นผลเสียต่อร่างกายหรือ LDL-C ที่จะไปสะสมในหลอดเลือดลงได้
4. ธัญพืชต่างๆ เช่น ข้าวกล้อง ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต และซีเรียล หรือขนมปังประเภทโฮลวีต จะให้สารอาหารที่เรียกว่าไฟเบอร์ ซึ่งเป็นคนละชนิดกับที่ได้จากผักและผลไม้ ไฟเบอร์พวกนี้ จะเป็นตัวยับยั้งและป้องกันไม่ให้เกิดอาการหัวใจวาย หรือหัวใจล้มเหลวได้ ดังนั้น หากเปลี่ยนจากข้าวหรืออาหารธรรมดา มากินพวกธัญพืช โฮลวีต ก็จะช่วยป้องกันอาการดังกล่าวลงได้ อย่างไรก็ตาม ควรกินควบคู่ไปกับผัก หรือผลไม้ และลดน้ำตาลลงได้จะดีที่สุด
5. ถั่วเมล็ดแห้งประเภทต่างๆ เช่น ถั่วลิสง อัลมอนต์ วอลนัท ฯลฯ ซึ่งในถั่วดังกล่าว จะมีกรดอะมิโนอาร์จินีนในอัตราสูง ช่วยในการเสริมสร้างความแข็งแรงของหลอดเลือด ตลอดจนเป็นกรดที่ช่วยปรับระดับความสมดุล ของความดันโลหิต ตลอดจนในถั่วอัลมอนต์ และวอลนัต จะมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว ที่ช่วยลดระดับ ควบคุมการสะสมของคอเรสเตอรอลประเภทที่ไม่เป็นผลดีต่อร่างกาย (LDL-C)
6. อาหารที่อุดมไปด้วยวิตามี E จากธรรมชาติ เช่น อโวคาโด ผักสีเขียว หรือธัญพืชไม่ขัดสี น้ำมันรำข้าว ซึ่งวิตามิน E ในธรรมชาติเหล่านี้ จะมีสารต้านอนุมูลอิสระค่อนข้างสูง ซึ่งจะช่วยในการป้องกันการอออซิเดชั่น หรือการสะสมของคอเรสเตอรอลประเภทที่ไม่ดีต่อร่างกาย (LDL-C) กล่าวคือการรับประทานผักและธัญพืชดังกล่าวนั้น จะช่วยลดการสะสมของไขมันในเส้นเลือดได้ ซึ่งแน่นอนว่าจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจลงได้เช่นกัน
7. สมุนไพร และเครื่องเทศบางชนิด เช่น กระเทียมสด ที่ใช้ในการประกอบอาหาร จะมีสารอาหารที่เรียกว่า อัลซินิน สารตัวนี้จะเป็นตัวที่คอยทำลาย และควบคุมระดับไขมันในเลือด ช่วยลดความเสี่ยงจากไขมันในเส้นเลือด ที่จะเปลี่ยนเป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจลงได้ นอกจากนั้นแล้ว เครื่องเทศบางชนิด เช่น พริก จะมีสารแคปไซซิน ที่ช่วยลดการเกาะตัวของลิ่มเลือด และเพิ่มการละลายลิ่มเลือดที่แข็งตัว ทำให้ลดความเสี่ยง ในการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว อันเกิดจากการที่ลิ่มเลือดเข้าไปอุดตันในลิ้นหัวใจลง
8. ธัญพืชบางชนิด เช่น งา ถั่วพิสตาซิโอ้ หรือน้ำมันรำข้าว จะมีสารที่เรียกว่า ไพโทสตีรอล สูงมาก ซึ่งสารดังกล่าว จะช่วยลดการดูดซึมคอเรสเตอรอลในลำไส้เล็กลง ทำให้ระดับ LDL-C นั้นลดลงตามไปด้วย